หลักเศรษฐศาสตร์


ประพันธ์ เศวตนันทน์ และ ไพศาส เล็กอุทัย
ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์

  1. เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยกิจกรรมด้านการผลิต การกระจาย
    สินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงกระบวนการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่
    อย่างขาดแคลน  ไปผลิตเป็นสินค้าและบริการเพื่อสนองความ
    ต้องการของมนุษย์
  3. เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกหน ทางที่จะใช้ปัจจัย
    การผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่
    มีอยู่อย่างไม่จำกัด
  4. เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่วิเคราะห์สภาพการเปลี่ยนแปลงของ
    เศรษฐกิจโดยส่วนรวม เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มของการเปลี่ยน

    แปลงราคาสินค้า วิเคราะห์สภาวะการว่างงาน เพื่อให้เข้าใจ
    ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และหาทางแก้ไข

    ปัญหาให้เศรษฐกิจส่วนรวมดีขึ้น
  5. เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่อง เงินตรา การธนาคาร การลง
    ทุน และทรัพย์สินหรือความมั่นคงต่าง ๆ
  6. วิชาที่ศึกษาถึงการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ(ปัจจัยการผลิต)ที่มี
    อยู่อย่างจำกัด นำมาผลิตสินค้า
    และบริการชนิดต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์
    ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด 

    โดยใช้กรรมวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและใช้ต้นทุน
    การผลิตต่ำที่สุด
อุปสงค์ (Demand)
               อุปสงค์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Demand หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ ณ ระดับราคาต่าง ๆ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่
โดยอุปสงค์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 
1. ความต้องการที่จะซื้อ หรือ Willing to buy
2. ความสามารถในการจ่ายเพื่อซื้อ หรือ ability to pay
              กฎของอุปสงค์คือ “หากกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ อุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าจะลดลง เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นหรือสูงขึ้น และอุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าจะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าถูกลง”
              จากความสัมพันธ์ดังกล่าว   โดยปกติ   เส้นอุปสงค์ จึงมีลักษณะที่ลาดลงจากซ้ายไปขวา (Downward slope) และมีความชันของเส้นเป็นค่าลบ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการซื้อสินค้ากับราคาในทิศทางตรงกันข้าม แสดงเป็นตารางอุปสงค์ได้ดังนี้
อุปทาน (Supply)
           อุปทานในวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Supply หมายถึง ความต้องการจะขายสินค้าหรือบริการของผู้ขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่
          โดยอุปทานจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 
          1. ความต้องการที่จะขาย หรือ Willing to sell
          2. ความสามารถในการผลิต หรือ ability to produce
          กฎของอุปทานคือ “หากกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ อุปทานหรือความต้องการขายสินค้าจะลดลง เมื่อราคาสินค้าถูกลง และอุปทานหรือความต้องการขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น”
          จากความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยปกติ เส้นอุปทาน จึงมีความชันของเส้นเป็นค่าบวก ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการขายสินค้ากับราคาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แสดงเป็นตารางอุปทานได้ดังนี้
 มือที่มองไม่เห็น ซึ่ง อดัม สมิท นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่นำคำนี้มาใช้ในวงการเศรษฐศาสตร์ โดยปรากฏในหนังสือชื่อ The Wealth of Nation ในค..1776 ต่อมามีผู้ร่วมขยายความเกิดเป็นแนวคิดว่า เนื่องจากมนุษย์มีความเห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง หากมีเสรีภาพในการหาผลประโยชน์ส่วนตน มนุษย์ก็จะตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจด้วยเหตุด้วยผลเพื่อให้ตัวเองได้รับผลประโยชน์มากที่สุด ซึ่งจะกลายเป็นผลประโยชน์แก่ส่วนรวมโดยไม่ตั้งใจ เสมือนมีมือที่มองไม่เห็นมาชักนำไป "มือที่มองไม่เห็น" นี้ หมายถึง พลังตลาดหรือกลไกตลาด เป็นตลาดที่มีการแข่งขันเสรีของวิสาหกิจเอกชนขนาดเล็กจำนวนมากมาย และปราศจากการแทรกแซงของรัฐ ในตลาดที่มีเงื่อนไขดังกล่าวผู้บริโภคและผู้ผลิตจะถูกมือที่มองไม่เห็นชักนำให้มีการปรับตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เชื่อว่าตลาดนั้นสามารถกีดกันการแสวงหาผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของสังคมได้อยู่แล้ว นักเศรษฐศาสตร์บางคนมีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า "มือที่มองไม่เห็น" จะทำงานได้ดีเยี่ยมในเงื่อนไขที่มีการแข่งขันโดยเสรี อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็นจริงการแข่งขันเสรีเป็นเงื่อนไขที่หาได้ยาก ดังนั้น "มือที่มองไม่เห็น" จึงมองไม่เห็นจริงๆ สำหรับคนทั่วไป
ข้อดี
1. ช่วยให้สามารถซื้อหรือใช้ บริโภคสินค้าที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักใช้ รู้จักออม
2. เจ้าของปัจจัยการผลิต ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ตัดสินใจใช้ปัจจัยการผลิตที่ต้นทุนต่ำแต่เกิดกำไรสูงสุ3. เข้าใจสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้

ข้อเสีย
1. ก่อให้เกิดปัญหาการเหลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐานทำให้การหารายได้ไม่เท่ากัน  
2.ในหลายๆกรณีกลไกทางการตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สำหรับการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจ 3. การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ อย่างสิ้นเปลือง


บรรณานุกรม

ประพันธ์ เศวตนันทน์ และไพศาล เล็กอุทัย. หลักเศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่2.
          กรุงเทพมหานคร :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554             
จัดทำโดย: นางสาวธัญกาญจน์  ธนพงศ์สกุลชัย
รหัสนักศึกษา:5223450115