หลักรัฐศาสตร์
 รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ
 
              รัฐศาสตร์เป็นความพยายามหากฎ กฏเกณฑ์ หรือหลักการเกี่ยวกับการเมือง คำว่า การเมือง มาจากภาษากรีก ที่มีรากศัพท์การเมืองมาจากคำว่า polis หมายถึงนครรัฐ (city-state)นักปรัชญานามว่าอริสโตเติลได้เขียนหนังสือ Politics ที่เริ่มต้นว่า คนตามธรรมชาติเป็นสัตว์การเมืองโดยปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งเป็นความรู้เรื่องอำนาจ ความชอบธรรม การปกครอง ความขัดแย้ง ความคิดและอุดมคติทางการเมือง โดยเฉพาะระบบอบประชาธิปไตยและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ตามแบบประเพณี ได้แก่แนวคิดเกี่ยวกับรัฐ รูปแบบการปกครองเน้นเรื่องประชาธิปไตยเป็นพิเศษ คือ การมีส่วนร่วมทางการเมือง การสื่อสารทางการเมืองและมติมหาชนพร้อมทั้งเชื่อมโยงของรัฐประศาสนศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่พยายามแยกออกจากรัฐศาสตร์เป็นสาขาที่เป็นเอกเทศในปัจจุบัน เช่น

อุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง แนวความคิดทางการเมืองที่นำไปปฏิบัติจริง มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางการเมือง ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐ และกาให้ความชอบธรรมแก่รัฐบาล นอกจากนี้ยังสะท้อนสภาพของสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละชุมชน

ในแง่มุมนี้อุดมการณ์ก็คือความคิดชุดหนึ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง หรือการปกป้องโครงสร้างของการเมืองที่อยู่ รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระจายอำนาจทางการเมือง และมีลักษณะเป็นข้อถกเถียงเชิงบรรทัดฐานที่สนับสนุนโครงสร้างปฏิรูป หรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น อุดมการณ์จึงมิใช่เป็นเพียงปรัชญาการเมือง อุดมการณ์ทางการเมืองจะเรียกร้องให้มีการกระทำ อุดมการณ์ทางการเมืองมักจะเชื่อมโยงกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ

วิวัฒนาการของรัฐและการปกครอง

อดีตถึงปัจจุบัน แบ่งลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนได้ 3 รูปแบบ ประกอบด้วย

1.รูปแบบความสัมพันธ์แบบผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง (Ruler and Ruled)

โดยที่วิวัฒนาการของรัฐและการปกครองนับแต่สมัยกรีกโดยเฉพาะนคร

รัฐเอเธนส์ถือว่าชาวกรีกเป็นพลเมืองที่สามารถใช้สิทธิทางการเมือง

โดยตรง แต่เมื่อประชาชนมีจำนวนมากขึ้น รูปแบบการปกครองได้เปลี่ยนโดยเป็นการให้อำนาจกับผู้ปกครองมีอำนาจเด็ดขาด ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยจักรวรรดิ์โรมันแล้วเข้าสู่ยุคกลางที่ถูกครอบงำโดยศาสนจักร ต่อมาพวกปัญญาชนก็พาออกจากยุคกลางหรือยุคมืดสู่ยุคฟื้นฟูและยุคแห่งแสงสว่าง เมื่อเกิดรัฐ-ชาติ(nation-state) ขึ้นในยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทำให้อำนาจในการปกครองรัฐได้เปลี่ยนมือจากสันตะปาปา (pope) มาสู่กษัตริย์ (king) ซึ่งลักษณะการปกครองแบบนี้ฐานะของผู้ปกครองมีเหนือกว่าและสำคัญกว่าผู้ถูกปกครองเป็นอย่างมาก ผู้ปกครองเป็นผู้ชี้นำให้ประชาชนในฐานะผู้ถูกปกครองต้องปฏิบัติตามถ้าผู้ปกครองทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนเป็นที่ตั้งก็ได้ชื่อว่าเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตย (absolute monarchy) ในทางตรงกันข้าม หากการปกครองเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นการปกครองแบบทรราชย์ (tyranny) ระบบการปกครองดังกล่าว ประชาชนแทบไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองเลย

2. รูปแบบความสัมพันธ์แบบการปกครองโดยผู้แทน (Representative Government)

หลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญๆ ได้แก่ การปฏิวัติในอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1688 การปฏิวัติในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1776 และการปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1789 มีผลทำให้กระแสของลัทธิประชาธิปไตยได้แพร่หลายไปยังรัฐต่างๆ ในทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลต่อการทำลายศูนย์กลางการควบคุมและการผูกขาดอำนาจรัฐของบุคคลหรือคณะบุคคล ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนแบบ ผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง เปลี่ยนมาเป็นแบบการปกครองระบอบผู้แทน (Representative Government)

สาระสำคัญของความสัมพันธ์แบบการปกครองโดยผู้แทน คือ อำนาจรัฐที่เรียกกันว่า อำนาจอธิปไตย” (sovereignty) นั้น เป็นของประชาชน (popular sovereignty) แต่ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยตรงดังเช่นสมัยนครรัฐเอเธนส์ เนื่องจากมีจำนวนประชากรมากขึ้น จึงต้องมีการมอบอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชนให้กับตัวแทนเป็นผู้ใช้อำนาจแทนประชาชน จึงเรียกว่า ผู้แทนราษฎรลักษณะสำคัญของการปกครองโดยผู้แทน ประกอบด้วย (1) ประชาชนมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้ ตัวแทนไปใช้แทนตน (2) การมอบอำนาจอธิปไตยต้องผ่านกระบวนการ เลือกตั้ง” (election) ภายใต้ระบบการแข่งขัน (competition) (3) ตัวแทนของประชาชนมีอำนาจจำกัดตามที่กฎหมาย (รัฐธรรมนูญ) กำหนดไว้เท่านั้น (4) เป็นการมอบอำนาจให้กับผู้แทนอย่างมีเงื่อนไข หากผู้แทนใช้อำนาจนอกขอบเขตของกฎหมาย ใช้อำนาจโดยพลการ หรือโดยบิดเบือนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยย่อมเรียกอำนาจคืนได้

3. รูปแบบความสัมพันธ์ของการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participative Politics)

ความล้มเหลวของระบบประชาธิปไตยโดยผู้แทนได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นักวิชาการจึงได้เสนอทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาและจุดอ่อนของระบบประชาธิปไตยโดยผู้แทน โดยการเสนอระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมาทดแทน หลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมยึดหลักพื้นฐานที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนสามารถใช้อำนาจได้เสมอแม้ว่าได้มอบอำนาจให้กับผู้แทนของประชาชนไปใช้ในฐานะที่เป็น ตัวแทนแล้วก็ตาม แต่ประชาชนก็สามารถเฝ้าดู ตรวจสอบควบคุมและแทรกแซงการทำหน้าที่ของตัวแทนของประชาชนได้เสมอ

ข้อดี

1) การนำเสนอแนวคิดและข้อมูลทางการเมืองใหม่ๆเช่น อุดมการณ์ประชาธิปไตยของตะวันตก ระบบการเลือกสมาชิกใหม่ หรือ พรรคการเมืองแบบ Catchall

2) ทำให้ทราบถึงแนวคิด ทัศนคติใหม่ๆของนักปรัชญาท่านอื่นที่ไม่เคยได้ยินเช่น เลฟวิช กล่าวว่า การปกครองและกิจกรรมสาธารณะ เป็นการเมืองในชีวิตประจำวัน

3) ทำให้เข้าใจระบบการเมืองการปกครองทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาตค ในและนอกประเทศ

4) เป็นหนังสือที่อ่านแล้วเข้าให้ง่ายเพราะผู้เขียนได้อธิบายอย่างละเอียด เหมาะนักศึกษา วิชารัฐศาสตร์

5) ท้ายบทจะมีคำถาม เพื่อทดสอบความรู้ที่ได้อ่าน ทำให้เข้าใจมากขึ้น

ข้อเสีย

1) ในหนังสือมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษจำนวนมาก ทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจ เพราะเป็นศัพท์เฉพาะทางรัฐศาสตร์

2) หนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ผู้เขียนอธิบายโดยละเอียดทำให้น่าเบื่อ

บรรณานุกรม


เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์, 2548
จัดทำโดย: นายสุทัศน์  ศรีธัญรัตน์
รหัสนักศึกษา:5223401634