บันทึกโลก บันทึกสยาม    
เป็นหนังสือที่เขียนย่อและย่อยข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตซึ่งจะแยกออกเป็นสองส่วน คือ

บันทึกโลกเป็นการบันทึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกในช่วงเวลา 200ปีที่ผ่านมา จะเป็นการทบทวนเหตุการณ์อันประกอบไปด้วยผู้คนที่มีเผ่าพันธุ์แตกต่างกัน  มีภาษาที่ต่างกัน มีวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน และเป็นการกล่าวถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรม การประดิษฐ์คิดค้น การสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรม การสูญเสียบุคคลสำคัญ สงครามกลางเมืองในฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเย็น สงครามเวียดนาม จนถึงสงครามอ่าวเปอร์เซียและอีกหลายต่อหลายสงครามที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งด้านบวกและด้านลบทั้งยังทิ้งร่องรอยความทรงจำอันยิ่งใหญ่ทั้งร่องรอยด้านความสำเร็จ ความล้มเหลวและร่องรอยการค้นพบอีกด้วย เช่น อุดมการณ์รักชาติของ อดล์อฟ ฮิตเลอร์ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหลังจากเยอรมันลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย  หรือการต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมเพื่อชาวผิวสีในแอฟริกาใต้ที่ถูกชนผิวขาวเหยียดหยาม ของมหาตมะ คานธีด้วยแนวทางสัตยาเคราะห์หรืออารยะขัดขืนด้วยการไม่ใช้กำลังและไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฏหมายที่ไม่ยุติธรรม เป็นต้น



บันทึกสยาม เป็นการบันทึกเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ที่สำคัญ บุคคลสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศสยามมาตั้งแต่ในอดีต ประเทศสยามเปลี่ยนมาเป็นประเทศไทย ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2482 ซึ่งมีความหมายว่า เป็นอิสระ และเสรีภาพ ให้ใช้ชื่อประเทศ ประชาชน สัญชาติ ว่า ไทย ภาษาอังกฤษคงยังเป็น Siam อยู่ จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนชื่อภาษาฝรั่งเศสเป็น Thailande  และภาษาอังกฤษเป็น Thailand  แต่ชื่อสยามนั้นก็ยังถือเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่ว่า พระราชพิธีพระนครสถาน ใช้ไม้พฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทร์ ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุดเป็นแก่นไม้สัก ประกับด้านด้วยไม้ชัยพฤกษ์ เป็นต้น 




 วิเคราะห์เนื้อหา 



 ข้อดี     เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ใช้ภาษาที่อ่านง่าย  สามารถทำความเข้าใจได้เร็ว เหมาะสมกับคนทุกวัย และเนื้อหาก็สามารถทำให้ทำความเข้าใจเกี่ยวในอดีตได้มากขึ้น ยิ่งมีภาพประกอบด้วยยิ่งทำให้เห็นถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ บุคคลที่สำคัญๆ หากเราเรียนรู้อดีต ก็จะทำให้เข้าใจปัจจุบันและมองเห็นอนาคตแจ่มชัดยิ่งขึ้น ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหากระทัดรัดเหมาะสมกับการเรียนในโลกดิจิตัลหรือโลกไร้พรมแดนอย่างทุกวันนี้
               
      ข้อเสีย   เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เขียนย่อหรือเขียนย่อยเหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตอาจทำให้ไม่ทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตทั้งหมดได้ ส่วนภาพที่ใช้ประกอบก็เป็นภาพขาวดำไม่ใช่ภาพสีอาจจะทำให้ยากต่อการจินตนาการเหตุการณ์เพราะว่าภาพในบางส่วนอาจจะไม่ชัดเจน หรือมีเส้นเขียนบางส่วนของภาพนั้นขาดหายไป

วิเคราะห์หน้าปก

 ข้อดี     หนังสือเล่มนี้จะใช้รูปต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตมาเป็นภาพประกอบในการทำหน้าปกจึงทำให้สื่อถึงเนื้อหาภายในหนังสือได้ว่าจะเป็นไปในแนวทางไหน ส่วนตัวหนังสือที่ใช้เขียนหน้าปกด้านหน้าและด้านหลังก็ทำให้อ่านง่ายไม่สับสน หน้าปกด้านหนังจะมีส่วนที่เขียนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิตของบุคคลที่สำคัญๆอยู่สามท่านก็ถือว่าดีเพราะว่าทำให้เราทราบถึงแนวทางในการดำรงชีวิต และเราสามารถนำแนวทางเหล่านี้ปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้



ข้อเสีย     สีสันในการทำหน้าปกยังไม่ชัดเจนทำให้มองเห็นภาพประกอบไม่ชัด น่าจะใช้สีสันที่มีความดึงดูดและมีความชัดเจนมากกว่านี้ จึงจะทำให้หนังสือเล่มนี้น่าอ่านมากยิ่งขึ้น


บรรณานุกรม
สุวรรณา  บุญกล่ำ. บันทึกโลกบันทึกสยาม. กรุงเทพมหนานคร : คิดดีจัง, 2552.

จัดทำโดย:นางสาวพัชราพร พิมงคล
รหัสนักศึกษา:5223400044