สึนามิประสบการณ์เด็กไทย

                คลื่นยักษ์สึนามิที่ได้เข้าถล่มหมู่เกาะและประเทศต่างๆที่อยู่โดยรอบมหาสมุทรอินเดีย  รวมทั้งประเทศไทยแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน  6 จังหวัด คือระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่  ตรังและสตูล ในวันที่26 ธันวาคม 2547 ได้นำมาซึ่งความสูญเสียเสียทั้งชีวิตคน อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง พืชผลและทรัพยากรธรรมชาติ   
              สำหรับประเทศไทยแล้วเป็นครั้งแรกที่ได้เผชิญและได้รับผลจากมหันตภัยสึนามิ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสึนามิของคนไทยโดยทั่วไปมีน้อยมากยกเว้นเฉพาะกลุ่มคนน้อยมากที่ศึกษาเรื่องนี้ไว้  การเตรียมตัวป้องกันตามชายฝั่งจึงไม่มีเลย  หากคนไทยหรือแม้แต่นักท่องเที่ยวต่างปะเทศได้มีความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ของการเกิดสึนามิบ้าง  ความสูญเสียในชีวิตอาจลดน้อยลงเพราะอาจหนีเอาตัวรอดได้บ้าง 
จากเนื้อเรื่องนี้ก็บอกได้ถึงประสบการณ์ของคนที่อาศัยอยู่ในระแวกนั้นพวกเขาได้เล่าเหตุการณ์ ก่อนเกิดคลื่นสึนามิถล่มไว้ มีดังนี้                       
    คุณนารีรัตน์  จาก อ.กระทู้  จ.ภูเก็ต  เล่าว่า ขณะที่เธอกำลังช่วยแม่ขายของอยู่ที่บ้านก็ได้ยินเสียงน้าตะโกนบอกว่า น้ำแห้งเร็วผิดปกติจึงรีบวิ่งออกไปดู   
    คุณจุฬาลักษณ์ จาก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เล่าว่า ในวันเกิดเหตุเธออยู่ที่บ้าน  พี่สาวที่ไปทำงานที่หาดป่าตองโทรศัพท์มาบอกว่า  ที่หาดป่าตอง  น้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ข้าวของลอยน้ำ ส่วนที่บ้านเธอที่ตะกั่วป่าไม่มีอะไรผิดปกติ คลื่นลมและอากาศจะดีกว่าทุกวันด้วยซ้ำไป  หลังจากคุยกับพี่สาวเสร็จผ่านไปได้ครึ่งชั่วโมง  คลื่นสึนามิก็มาถึงบ้านเธอ     
    คุณเมตตา จาก อ่าวมะนาว เล่าว่า ขณะที่เกิดเหตุเธอได้ไปกับพ่อซึ่งพานักท่องเที่ยวไปเที่ยวทะเลแหวก ก่อนเกิดเหตุเธอเห็น  ท้องฟ้ามีสีแดง  น้ำเชี่ยวกว่าผิดปกติใต้ท้องเรือสั่งสะเทือน และมองเห็นคลื่นสีขาวที่ปลายเกาะอีกฝั่งหนึ่ง ’’ 
     อิสมาเอล จากทะเลนอก เล่าว่า ผมได้ยินเสียงพ่อครูตะโกนบอกว่าน้ำทะเลเปลี่ยนไป ผมและแม่ครู  จึงวิ่งไปที่ชายหาดเห็นคลื่นยกตัวสูงเป็นกำแพง ลักษณะเหมือนหัวคันนา  ยอดคลื่นเป็นหมอกควันสีขาวเป็นเส้นๆเหมือนเส้นขาวที่เกิดหลังจากเครื่องบินไอพ่นบินผ่าน 
         หากจะบอกสิ่งที่เราจะสังเกตเห็นก่อนคลื่นสึนามิ นั้นคือ การที่น้ำทะเลลดลงอย่างรวดเร็วถ้าเห็นอย่าลงไปดูเพราะหากมองเห็นคลื่นแล้วจะหนีไม่ทันคลื่นจะเร็วแรงและอันตรายมาก คลื่นสึนามิมีลักษณะเป็นชุดและคลื่นแต่ละลูกมักจะเคลื่อนที่ห่างกันเป็นเวลา 10-15 นาทีนานกว่าครึ่งชั่วโมงก็มี ลักษณะของการซัดของคลื่นไม่ได้ซัดเข้ามาข้างหน้าหาดแบบปกติ แต่มันจะซัดเข้ามาทางซ้ายแล้ววิ่งไปทางขวา  แล้วก็มาจากทางขวาแล้ววิ่งไปทางซ้าย  ปั่นป่วนมาก  พลังคลื่นจะเกิดแรงดันทำให้ระดับน้ำสูงกลายเป็นคลื่นยักษ์สูงถึง 30 เมตร สามารถกวาดเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าลงสู่ทะเลโดยชั่วพริบตาเลยทำให้จากเหตุการณครั้งนี้ยังมีผู้ที่รอดชีวิตจากคลื่นสึนามิเขามีขั้นตอนในการหนีเอาตัวรอดโดยใช้วิธีการที่ส่วนใหญ่ใช้วิธีการปีนต้นไม้หรือขึ้นไปอยู่บนที่สูงก็จะทำให้ปลอดภัยจากคลื่นสึนามิได้  ติดตามการเสนอข่าวสารของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องและที่สำคัญไปกว่านั้น หมู่บ้านบางเขนได้รับความเสียหายน้อยมากกว่าหมู่บ้านอื่นเพราะมีทรัพยากรชายฝั่งทะเล เช่น ป่าชายเลน แนวปะการังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยชะลอความรุนแรงของคลื่นสึนามิได้  รากค้ำยันของต้นโกงกางที่ขึ้นหนาแน่น  เปรียบเสมือนกำแพงซึ่งยอมให้น้ำทะเลไหลผ่าน  ในขณะเดียวกันก็ดูดซับความเร็วของคลื่นและแรงปะทะเอาไว้ได้เลยทำให้พวกเขารอดตายได้ด้วยป่าชายเลน จากนี้ไปพวกเขาคงต้องช่วยกันปลูกป่าชายเลนเพิ่มขึ้น  แม้ว่าปีที่ผ่านมาชาวบ้านและเจ้าหน้าที่จะช่วยกันปลูกอยู่แล้ว  แต่ก็คิดว่าต้องปลูกเพิ่มให้มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามในภาวะวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายก็ได้เห็นสิ่งที่ดีงามคือความสามัคคีและความมีน้ำใจของคนไทยทั่วประเทศที่ได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไม่ว่าจะเป็น เงิน ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม อาหาร เป็นต้น  ที่สามารถทำให้พวกเขานั้นสามารถดำรงชีวิตและต่อสู้กับชีวิตไปได้โดยมีคนไทยด้วยกันที่คอยให้กำลังใจและคอยให้ความช่วยเหลือก็มีผู้ที่อาสาช่วยเหลือในเหตุการณ์ครั้งนี้คือ 
เด็กหญิงธนุตรา  กนกศักดิ์โสภณ เป็นผู้หนึ่งในจำนวนนั้นที่อาสาเก็บศพที่ติดตามเกาะ           
นายวรวุฒิ พงษ์เภา นักเรียนจากศูนย์บริการนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรมการศึกษานอกโรงเรียน จ.ภูเก็ต เขาทำการช่วยเหลือส่งข้าวและขนของ  เขาก็ได้ชวนเพื่อนๆให้ไปช่วยผู้ประสบภัยเหล่านั้นพวกเขาพากันขี่มอเตอร์ไซต์ไปที่สถานียอดเขารัง จ.ภูเก็ตเพื่อทำการช่วยเหลือทุกอย่างเท่าที่จะทำได้  
         เรื่องเล่าจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่ได้เล่านั้นก็แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจและรู้เลยว่าคนไทยนั้นไม่มีวันทอดทิ้งกัน  ที่น่าพอใจไปกว่านั้นก็คือชาวต่างชาติได้เล่าขานผ่านสื่อต่างๆแทบทุกแขนง ถึงความประทับใจในความช่วยเหลือของคนไทย  นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ผู้พบเห็นยากจะลืมเลือนได้  แล้วเชื่อกันว่าคนกว่า 30 ประเทศที่มาประสบชะตากรรมคลื่นสึนามิร่วมกับคนไทย เมื่อกลับไปประเทศของเขาเชื่อว่าจะเล่าขานให้ญาติมิตรของเขาฟังแบบปากต่อปากถึงแผ่นดินไทยที่นอกเหนือจากจะเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้มแล้วยังเป็นดินแดนที่เต็มเปี่ยมด้วยไมตรี และมีน้ำใจ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่าน       
        "หนังสือสึนามิ:ประสบการณ์เด็กไทย" เป็นหนังสืออ่านเสริมสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาและทุกๆคนที่ต้องการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ เพราะเป็นหนังสือที่ถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ได้เล่าในนาทีชีวิตที่คิดว่าจะรอดหรือไม่เขาก็ได้บอกแนวทางในการป้องกัน จากประสบการณ์ที่เขาได้ใช้ในการเอาตัวรอดนั้น แล้วมาถ่ายทอดให้ผู้สนใจอ่านและผู้ศึกษาได้มีการป้องกันตนเอง อีกทั่งผู้อยู่ในเหตุการณ์ได้บอกวิธีป้องกันและสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีด้วยโดยใช้ความสามารถเฉพาะตัวเช่น ปีนต้นไม้ ว่ายน้ำได้และที่สำคัญ ควรมีสติ ไม่ตื่นตระหนกตกใจ  เมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์เราก็ย่อมเอาตัวรอดได้อีกทั่งเรายังแนะนำผู้ที่ไม่รู้ในการป้องกันตัวเอง เราก็เอาความรู้จากการอ่านนี้ไปบอกเขาได้ ซึ่งทำให้เรากลายเป็นผู้มีบุญที่สามารถช่วยผู้ที่คิดว่าไม่รอดกับรอดปลอดภัยได้  จากหนังสือที่อ่านเราสามารถนำมาเรียนรู้และเป็นแบบอย่างได้  เมื่อเราไปอยู่ในสถานการณ์ตรงนั้นเราก็ย่อมที่จะเอาตัวรอดได้เป็นอย่างดีเมื่อประสบเจอด้วยตนเอง 

ข้อดี
 - ได้รู้ถึงการเอาตัวรอดเมื่อเจอภัยสึนามิและสามารถบอกต่อกับเพื่อนที่ไม่รู้ให้รู้ถึงการป้องกันตนเองได้
- การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
-เป็นหนังสือที่เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัยและง่ายต่อการอ่าน
-อ่านแล้วเพลิดเพลิน มีสาระและแง่คิดที่น่าสนใจจากประสบการณ์ของผู้พบเจอด้วยตัวเอง 
-เป็นหนังสือที่มีภาพประกอบพร้อมคำอธิบาย ถึงเหตุการณ์ของผู้พบเห็น
ข้อเสีย
- เนื้อหาบางตอนอ่านแล้วดูซับซ้อน วกวนจากการเล่าของผู้เห็นเหตุการณ์สึนามิ
-มีการเล่าถึงเหตุการณ์ไม่เป็นขั้นตอน  จากประสบการณ์ของผู้พบเห็นอาจทำให้ผู้อ่านต้องมีการจับใจความสำคัญและเกิดการจินตนาการเอง

บรรณานุกรม
กระทรวง ศึกษาธิการ ; คณะบรรณาธิการ เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ หัวหน้าบรรณาธิการ, จุไรรัตน์ แสงบุญนำ ... [และคนอื่นๆ]. สึนามิ : ประสบการณ์เด็กไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2549.

                                                                                      
จัดทำโดย : นางสาวศศิกานต์ บานเย็น
รหัสนักศึกษา : 5223410155